เนื่องจากทีวีทั้งสองระบบสามารถต่ออินเตอร์เน็ตและรับชมรายการผ่านแอปดัง ๆ เช่น Youtube Netflix iFlix รวมถึงใช้บราวเซอร์เข้าเว็บได้เหมือนกัน สำหรับหลายคนตัวเลือกทั้งสองจึงเป็นตัวเลือกที่ยากในการเลือกซื้อเพราะราคาที่ไม่ต่างกันชัดเจน
แต่ความจริงแล้วเบื้องหลังของระบบทั้ง 2 นี้มีความแตกต่างที่ส่งผลต่อความยากง่ายในการใช้งานของคุณครับ สิ่งที่คุณจะได้จากบทความนี้คือรู้ว่าตัวเลือกไหนระหว่างสองตัวนี้ที่ใช่สำหรับคุณมากที่สุดเพื่อที่คุณจะได้จ่ายเงินแล้วได้สิ่งที่กลับมาอย่างเต็มที่คุ้มค่าเงินที่จ่ายและไม่มีเสียอารมณ์ในภายหลังครับ
Samsung Tizen | LG Web OS | Android | |
ความเร็ว | 5 | 5 | 3 |
ความง่ายในการใช้งาน | 5 | 5 | 3 |
การอัพเดทของ OS | 3 | 3 | 5 |
คุณภาพของบราวเซอร์ | 3 | 3 | 5 |
ความหลากหลายของแอปใช้งาน | 3 | 3 | 5 |
การรองรับแอปเวอร์ชั่นอัพเดทใหม่ ๆ ในอนาคต | 3 | 3 | 5 |
การสั่งงานด้วยเสียงผ่าน Google Assistant | 0 | 0 | 5 |
ความเร็ว – จุดนี้เป็นจุดที่ฝั่งสมาร์ทีวีทั้งสองแบรนด์ได้เปรียบมากสุด เพราะนอกจากระบบปฏิบัติการหรือ OS ที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานในแบรนด์ของตัวเองโดยเฉพาะแล้ว ฮาร์ดแวร์ที่ให้มาไม่ไก่กามีความเร็วรองรับการใช้งานดีกว่าทีวีแอนดรอยด์ ทางฝั่งแอนดรอยด์ฮาร์ดแวร์ที่ให้มากับทีวีโดยตรงส่วนมากไม่เวิร์กครับ CPU ห่วย ๆ แรมน้อย รอมน้อย ทำงานช้าจัด ๆ
ความง่ายในการใช้งาน – เป็นอีกหนึ่งจุดแข็ง เพราะอินเตอร์เฟสของสมาร์ททีวีถูกออกแบบมาเข้าใจง่ายกว่าฝั่งแอนดรอยด์สำหรับคนใช้ทีวีโดยตรง ออกแนว “สำเร็จรูป” มากกว่า ถึงแม้ว่าในสังคมบ้านเราจะมีผู้ใช้งานมือถือจำนวนมากและอินเตอร์เฟสของแอนดรอยด์ไม่น่าใช้งานได้ยากสำหรับคนเหล่านั้น แต่ความจริงแล้วแอนดรอยด์ออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับมือถือเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อนำมาใช้งานบนทีวีแม้แต่ผู้ที่ใช้งานมือถือแอนดรอยด์เป็นประจำก็ยังมึนได้
การอัพเดทของ OS – ตรงนี้ถือเป็นจุดเด่นที่สำคัญของฝั่งแอนดรอยด์ ระบบปฏิบัติการของแอนดรอยด์มีการอัพเดทบ่อยซึ่งส่วนมากจะเป็นการอัพเดทเพื่อให้รองรับแอปเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ได้ ตรงนี้จะมีผลโดยตรงต่อสองข้อถัดไป
คุณภาพของบราวเซอร์ – จากข้อด้านบนด้วยความที่เป็นแอนดรอยด์ที่นอกจากจะอัพเดทบ่อยแล้วคุณยังสามารถเลือกลงบราวเซอร์ที่ต้องการใช้งานได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น Google Chrome, Firefox หรือ Microsoft Edge นอกจากนี้บราวเซอร์เหล่านี้ยังมีการอัพเดทที่บ่อยทำให้รองรับการใช้งานใหม่ ๆ ได้ ส่วนบราวเซอร์ของฝั่งสมาร์ททีวีเป็นของทางแบรนด์เอง แม้คุณภาพจะดีแต่หากคอนเท้นต์บนเว็บมีการอัพเดทและต้องการอัพเดทที่ฟีเจอร์ของบราวเซอร์เพื่อให้รองรับได้ กรณีนี้การอัพเดทคุณต้องหวังให้ทางแบรนด์ทำอัพเดทให้คุณเท่านั้น อาจช้าหรืออาจไม่มีเลยก็ได้
ความหลากหลายของแอปใช้งาน – แม้่ว่า OS ของสมาร์ททีวีจะลงแอปใช้งานที่จำเป็นและสำคัญมาให้ครบแล้ว แต่หากคุณต้องการใช้งานนอกเหนือจากนั้นแอนดรอยด์เป็นคำตอบที่ดีกว่า
การรองรับแอปเวอร์ชั่นอัพเดทใหม่ ๆ ในอนาคต – การอัพเดทของแอปใช้งานที่ในแอนดรอยด์จะอัพเร็วกว่าทางแบรนด์มาก สมมติว่าแอป Netflix มีการอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ในแอนดรอยด์และการอัพเดทนี้มีผลทำให้คุณดูคอนเท้นต์บางตัวไม่ได้ ณ จุดนี้คุณต้องลุ้นให้ทางแบรนด์รีบทำอัพเดทตามออกมาให้เร็วสุด ซึ่งส่วนมากไม่แพแต่ช้าหน่อย
การสั่งงานด้วยเสียงผ่าน Google Assistant – จริง ๆ ตรงนี้เป็นส่วนที่ไม่ควรนับเพราะฝั่งแอนดรอยด์เป็นฝั่งเดียวที่มี ณ เวลานี้ แต่ที่ต้องยกมาเพราะมันเป็นฟีเจอร์ที่สำคัญเพราะมันมีผลต่อความง่ายในการใช้งานจริงครับ
ข้อสรุป
รูปแบบการใช้งาน | Smart TV | Android TV |
99% ดูแต่ Youtube Netflix | X | X |
ชอบใช้บราวเซอร์ดูเว็บ | X | X |
ชอบใช้งานแอปต่าง ๆ บนทีวี | X | |
ชอบความเร็ว ใช้ง่าย เข้าใจง่าย | X | |
ชอบสั่งงานด้วยเสียง | X |
เพิ่มเติม – คาดการณ์ว่าในระยะเวลา 4-5 ปีจากนี้ตลาดของทีวีฝั่งแอนดรอยด์จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าระบบปฏิบัติการเฉพาะแบรนด์ของสมาร์ททีวีครับ แม้ว่าข้อเสียของทีวีแอนดรอยด์ในด้านฮาร์ดแวร์ที่ช้านั้นทำให้ตลาดยังไม่โตอย่างที่ควรเป็น แต่ข้อเสียนี้ถูกกลบไปด้วยความสามารถในการอัพเดทของแอนดรอยด์และความหลากหลายในการรองรับแอปต่าง ๆ รวมถึงความไวในการอัพเดทแอป ซึ่งเป็นสิ่งที่ OS เฉพาะแบรนด์ให้ไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีตลาดในส่วนของกล่องแอนดรอยด์แบบแยกที่มีคุณภาพฮาร์ดแวร์ดีกว่ามากและใช้งานกับทีวีได้หลากหลายมารองรับอีกด้วย
ในอนาคตระบบแอนดรอยด์ของทีวีโดยเฉพาะที่อินเตอร์เฟสออกแบบมาเพื่อการใช้ทีวีโดยเฉพาะนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เกินความคาดหมายครับ
แชร์ได้เลยเพียงกดเบา ๆ